เมนู

ถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์และสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีจิตหลุดพ้น
ดีแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตพ้นแล้ว
จากราคะ มีจิตพ้นแล้วจากโทสะ มีจิตพ้นแล้วจากโมหะ. ดูก่อนท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา
หลุดพ้นดีแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้
ชัดว่า ราคะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจ
ตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกเป็น
ธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็น
ดุจต้นตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจ
ต้นตาลยอดด้วน ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้น
ดีแล้ว.

[362] อเสขธรรม 10


1. สัมมาทิฏฐิที่เป็นของพระอเสขะ
2. สัมมาสังกัปปะที่เป็นของพระอเสขะ
3. สัมมาวาจาที่เป็นของพระอเสขะ


4. สัมมากัมมันตะที่เป็นของพระอเสขะ
5. สัมมาอาชีวะที่เป็นของพระอเสขะ
6. สัมมาวายามะที่เป็นของพระอเสขะ
7. สัมมาสติที่เป็นของพระอเสขะ
8. สัมมาสมาธิที่เป็นของพระอเสขะ
9. สัมมาญาณะที่เป็นของพระอเสขะ
10. สัมมาวิมุตติที่เป็นของพระอเสขะ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย 10 เหล่านี้แล พระผู้มี
พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกัน
การที่พรหมจรรย์นี้ ยั่งยืน ตั้งอยู่นานแล้ว ก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
จบสังคีติธรรมหมวด 10
[363] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแล้วตรัส
กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอได้
ภาษิต สังคีติปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นการดีแล้ว ดังนี้. ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้น
ต่างก็ดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้ว ดังนี้แล.
จบสังคีติสูตรที่ 10

อรรถกถาสังคีติสูตร



ว่าด้วยธรรมหมวด 1



สังคีติสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น
ในสังคีติสูตรนั้น มีคำอธิบายไปตามลำดับบที่ ดังต่อไปนี้. คำว่า
จาริกญฺจรมาโน หมายถึงเสด็จเที่ยวไปอย่างนิพัทธจาริก. ได้ยินว่าในครั้ง
นั้น พระศาสดาทรงแผ่ข่าย คือพระญาณไปในหมื่นจักรวาล ตรวจดูสัตว์
โลกอยู่ ได้ทรงเล็งเห็นเหล่ามัลลราช ชาวเมืองปาวา จึงทรงคำนึงว่า
" ราชาเหล่านี้มาปรากฏในข่ายคือสัพพัญญุตญาณของเรา. จะมีอะไรหรือ
หนอ? " ก็ได้ทรงเห็นความข้อนี้ว่า " ราชาทั้งหลายให้สร้างสัณฐาคารขึ้น
แห่งหนึ่ง เมื่อเราไป ก็จักให้เรากล่าวมงคล. เรากล่าวมงคลแก่ราชา เหล่า
นั้นแล้ว ส่ง ( กลับ ) ไปแล้ว จักบอกสารีบุตรว่า " เธอจงกล่าวธรรมกถา
แก่หมู่ภิกษุ สารีบุตรพิจารณาโดยพระไตรปิฏกแล้ว จักกล่าวสังคีติสูตร
แก่หมู่ภิกษุ ประดับไปด้วยปัญหา 1,014 ข้อ, ภิกษุ 500รูป รำลึกถึง
พระสูตร ( นี้ ) แล้ว จักบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา " ดังนี้ จึงได้
เสด็จจาริกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มลฺเลสุ จาริกญฺจรมาโน
คำว่า อุพฺภตกํ เป็นชื่อของ สัณฐาคารแห่งนั้น. อีกนัยหนึ่ง ท่านเรียกว่า
(อุพฺภตกํ) อย่างนั้น เพราะเป็นอาคารสูง. คำว่า สณฺฐาคารํ หมายถึง
ศาลาที่ประชุมกลางเมือง. ในคำว่า สมเณน วา นี้เพราะเหตุที่เทวดาทั้ง